Toyota ได้เริ่มการศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับการรื้อชิ้นส่วน End-of-Life Vehicle (ELV) ในประเทศไทยแล้ว

Toyota’s Environmental Challenge 2050 ได้รวมเอาความท้าทายในการสร้างสังคมและระบบแห่งการรีไซเคิลซึ่งจะส่งเสริมให้ End-of-Life Vehicle (ELV) ได้รับการรีไซเคิลอย่างเหมาะสม จากนั้นสามารถนำวัสดุมาใช้ในการผลิตรถยนต์คันใหม่ได้ ระบบนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในการตอบสนองความต้องการของโลกซึ่งมีอัตราการบริโภคทรัพยากรธรรมชาติรวดเร็วเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกันยังเป็นระบบที่จะช่วยลดมลพิษทางสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

เพื่อบรรลุเป้าหมายของเราให้ได้ภายในปี 2050 Toyota ทำงานอย่างใกล้ชิดกับรัฐบาลไทยและ DOWA กรุ๊ปในประเทศไทย จัดงานแถลงข่าวร่วมกันเพื่อประกาศการเริ่มศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ “End-of-Life Vehicle Green Recycling Project in Thailand”

ในประเทศไทยปัจจุบันนี้ยังไม่มีกฎหมายที่กำหนดการจัดการและการรีไซเคิล ELVs อย่างเหมาะสม ยังคงไม่มีโรงงานรื้อชิ้นส่วนและรีไซเคิลเช่นนั้นในระดับมหาชน แม้ตลาดยานยนต์กำลังขยายตัวก็ตาม ทั้งรัฐบาลไทยและหน่วยงานภาคเอกชนขณะนี้กำลังร่วมกันพยายามจัดวางประเทศไทยให้เป็นประเทศแนวหน้าในการสร้างโครงร่าง ELV และเทคโนโลยีที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ทั่วโลก

ในฐานะบริษัทยานยนต์รายแรกของโลกที่สร้างสรรค์แนวคิด ELV เกี่ยวกับการรื้อชิ้นส่วนรถยนต์และ
การรีไซเคิล โครงการ “Toyota Metal” จึงถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นนับตั้งแต่ปี 1970 ด้วยการก่อตั้ง “Toyota Global 100 Dismantlers project” ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโรงงานรื้อชิ้นส่วนและ
รีไซเคิล ELV ที่เหมาะสมจำนวน 7 แห่งภายในปี 2020 โดยมีเป้าหมายระยะยาวว่าจะสร้างโรงงานให้ได้ 100 แห่งทั่วโลกภายในปี 2050 Toyota มีเป้าหมายที่จะใช้ความเชี่ยวชาญที่มีในการจัดการและประกอบวัสดุ
รีไซเคิลจาก ELVs ใหม่ให้ดีขึ้น พร้อมทั้งคืนสู่สังคมโดยไม่ส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต่อพื้นที่แถบนั้น

โครงการ ELV แรกของ Toyota นอกประเทศญี่ปุ่นได้รับการก่อตั้งขึ้นในประเทศจีนในปี 2014 เนื่องจากประเทศไทยคาดหวังที่จะเป็นอันดับสองของโลกและอันดับหนึ่งในพื้นที่แถบอาเซียนในการให้บริการ
รื้อชิ้นส่วน ELVs ในเดือนเมษายนปี 2017 Toyota เริ่มทำงานกับรัฐบาลไทยและภาคเอกชนเพื่อก่อตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจ ELV โดยเป็นการร่วมมือกันทำงานระหว่างรัฐบาลไทยกับ DOWA กรุ๊ป ระยะเวลา
ในการศึกษาความเป็นไปได้ระหว่างเดือนเมษายน 2017-กุมภาพันธ์ 2018 จะทำให้ได้เห็นยานพาหนะต้นแบบ 20 แบบด้วยกันถูกรื้อชิ้นส่วนทุกๆเดือน และอุตสาหกรรม ELV ในประเทศไทยจะได้รับการศึกษาร่วมกับรัฐบาลตลอดระยะเวลาโครงการ

นับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2014 การทดลองมีจุดโฟกัสอยู่ที่การรื้อถอนต่างๆ ยกตัวอย่างเช่นการสกัดก๊าซเรือนกระจก เช่น CFCs, HFCs และวัสดุมีพิษอื่นๆ เช่นถุงลมนิรภัยและน้ำมันหล่อลื่นจาก ELVs ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว Green Metals (Thailand) Co. Ltd มีจุดโฟกัสอยู่ที่การกู้คืนก๊าซและวัสดุมีพิษที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ ขณะที่ Bangpo Environmental Complex Co. Ltd. (DOWA Group) รับผิดชอบกระบวนการรื้อถอนและการปฏิบัติต่อชิ้นส่วนรีไซเคิล

ด้วยประสบการณ์ยาวนานกว่า 40 ปีระหว่าง Toyota กับ DOWA Group เราจะยังคงศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยโรงงานรื้อชิ้นส่วนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแห่งแรกในประเทศไทย เรามุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมาย Toyota’s Environmental Challenge 2050