ความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย
ด้วยการมุ่งเป้าหมายในการเป็นสังคมปลอดคาร์บอนในปี 2050 โตโยต้าได้ขยายการร่วมมือกับ WWF ในด้านการอนุรักษ์ในประเทศไทย และด้วยที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่อยู่ระหว่างภูมิภาคที่เป็นจุดศึกษาชีวภูมิศาสตร์หลักสองภูมิภาค ซึ่งก็คือภูมิภาคอินโดจีนทางตอนเหนือและเขตชุนดาทางตอนใต้ ทำให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดประเทศหนึ่งของโลก แต่เป็นเรื่องน่าเศร้าที่สิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์กำลังเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ข้อมูลของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพภายใต้ข้อตกลงของสหประชาชาติ (UN)1 ระบุไว้ว่าสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในประเทศไทยนั้นประกอบไปด้วยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 121 ชนิด, นก 184 ชนิด, สัตว์เลื้อยคลาน 33 ชนิด, สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ 5 ชนิด, ปลา 218 ชนิด และพืชอีกไม่ต่ำกว่า 1,131 ชนิด โดยการคุกคามหลักๆ มาจากการบุกรุกเข้าไปล่าสัตว์ การทำป่าไม้ผิดกฎหมายที่สืบเนื่องมาจากการขยายพื้นที่ทำเกษตรกรรม การประมงที่ทำลายธรรมชาติ และการรบกวนที่มาจากกิจกรรมการท่องเที่ยวและการขนส่ง
การอนุรักษ์ป่าภายใต้ความร่วมมือของ WWF และโตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชันได้ขยายเข้าไปถึงอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานและอุทยานแห่งชาติกุยบุรีในประเทศไทยเมื่อปี 2018 โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาระบบการติดตามสำหรับเสือและสัตว์ป่าชนิดอื่นๆ ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าคุ้มครอง อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานและอุทยานแห่งชาติกุยบุรีเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มป่ากุยบุรี-แก่งกระจาน ซึ่งครอบคลุมพื้นที่กว่า 3,000 ตารางกิโลเมตรทางตอนใต้ของเทือกเขาตะนาวศรี – ดาวนา (DLT) ที่อยู่ระหว่างชายแดนไทย-พม่า กลุ่มป่าที่มีความหลากหลายทางชีวภาพได้รับการเสนอให้เป็นแหล่งมรดกทางธรรมชาติของโลกของ UNESCO
ตั้งแต่การใช้กล้องดักถ่ายภาพไปจนถึงการวิจัยและการปฏิบัติจริง
ได้มีการนำกล้องดักถ่ายภาพหรือที่รู้จักกันว่ากล้องส่องสัตว์ มาปรับใช้ในการสำรวจจำนวนประชากรของเสือ เหยื่อ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ ในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานและกุยบุรี กล้องที่กระตุ้นด้วยอินฟราเรดที่มีขายในท้องตลาดจะทำงานโดยลดการรบกวนของมนุษย์ให้น้อยที่สุด
โดยกล้องดังกล่าวที่สามารถทำงานในระยะไกลได้ถูกติดตั้งมากถึง 120 ตัวทั่วอุทยานแห่งชาติทั้งสองแห่ง กล้องเหล่านี้จะมีข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับจำนวนประชากรและการกระจายตัวของสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ นักวิจัยทำการวิเคราะห์และออกแบบแผนการอนุรักษ์เพื่อสนับสนุนการสงวนและการฟื้นฟูสิ่งมีชีวิตพันธุ์ต่างๆ ด้วยข้อมูลจากกล้องดักถ่ายภาพนี้
ข่าวดีก็คือในหลายปีที่ผ่านมากล้องดักถ่ายภาพได้จับภาพเสือดาว หมีดำเอเชีย กระทิง และตัวนิ่มไว้ได้ มีการพบเห็นเสือสองตัวในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานและมีรอยเท้าปรากฏขึ้นอีกครั้งในอุทยานแห่งชาติกุยบุรีในช่วงต้นปี 2019 หลังจากที่ไม่มีการพบเสือมาแล้วเป็นเวลาเจ็ดปี
ความพยายามในการอนุรักษ์ป่าที่มีอย่างต่อเนื่องภายใต้ความร่วมมือนี้กำลังแสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่ช่วยให้มีกำลังใจในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในป่าเขตร้อนพื้นที่ต่ำในเทือกเขาตะนาวศรี – ดาวนา (DLT)
ความร่วมมือของโตโยต้ากับ WWF
เมื่อเดือนกรกฎาคม 2016 โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชันได้เริ่มข้อตกลงความร่วมมือขององค์กรระดับโลกกับ World Wide Fund for Nature (WWF) โตโยต้าเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายแรกและเป็นบริษัทญี่ปุ่นบริษัทแรกที่เข้าร่วมโครงการนี้กับ WWF การร่วมมือนี้เป็นการริเริ่มภายใต้โครงการ Living Asian Forest Project โดยโตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชัน ซึ่งมีเป้าหมายในการอนุรักษ์พื้นที่ป่าเขตร้อนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชันให้เงินสนับสนุนเป็นรายปี ปีละ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อช่วยอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศในความร่วมมือภายในห้าปี ความร่วมมือที่ครอบคลุมถึงเกาะบอร์เนียว (กาลีมันตัน) และสุมาตราในอินโดนีเซียเป็นครั้งแรกได้ขยายมาถึงประเทศไทยแล้ว
โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชันได้ให้คำมั่นด้วยตนเองในการสร้างสังคมปลอดคาร์บอนให้เกิดขึ้นภายในปี 2050 Toyota Environmental Challenge 2050 ประกอบด้วยเป้าหมายย่อยอีกหกข้อที่จะนำทางให้ความพยายามของโตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชันนั้นบรรลุเป้าหมายได้ในปี 2050 โครงการ Living Asian Forest Project ที่ครอบคลุมถึงความพยายามในด้านสิ่งแวดล้อมเช่นความร่วมมือนี้ เป็นโครงการย่อยโครงการหนึ่งของ Toyota Environmental Challenge 2050
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Toyota Environmental Challenge 2050 โปรดไปที่ https://global.toyota/en/sustainability/esg/challenge2050/, และ https://www.wwf.or.jp/campaign/lafp/english/ เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ Living Asian Forest Project ของ WWF.
ข้อมูลอ้างอิง
1 อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ 1 (n.d.) ประเทศไทย – รายละเอียดหลัก จาก